วันอังคารที่ 14 มิถุนายน พ.ศ. 2559

จิตสาธารณะ

        จิตสาธารณะ






          ความหมายของจิตสาธารณะ
          จิตสาธารณะหรือจิตสำนึกสาธารณะ (PublicConsciousness)
                   1.ราชบัณฑิตยสถาน ได้ให้ความหมายของจิตสำนึกทางสังคม หรือจิตสำนึกสาธารณะ ว่า คือ การตระหนักรู้และคำนึงถึงส่วนรวมร่วมกัน หรือการคำนึงถึงผู้อื่นที่ร่วมสัมพันธ์เป็นกลุ่มเดียวกัน 

                   2.สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติได้ให้ความหมายว่า การรู้จักเอาใจใส่เป็นธุระและเข้า ร่วมในเรื่องของส่วนรวมที่เป็นประโยชน์ต่อประเทศชาติมีความสำนึกและยึดมั่นในระบบคุณธรรม และจริยธรรมที่ดีงาม ละอายต่อสิ่งผิด เน้นความเรียบร้อย ประหยัดและมีความสมดุลระหว่างมนุษย์กับ ธรรมชาติ  
                   จิตสาธารณะ (
Public mind) หมายถึง จิตสำนึกเพื่อส่วนรวม มีความรู้สึกเป็นเจ้าของสิ่งที่เป็น สาธารณะ ที่มิได้เป็นของผู้หนึ่งผู้ใด ทุกคนมีสิทธิและหน้าที่ในการบำรุงรักษาร่วมกัน รวมถึงการมีคุณ ธรรมจริยธรรม มีความรัก ความเอื้ออาทรต่อคนอื่น และการกระทำที่ไม่เสื่อมเสียหรือเป็นปัญหาต่อ สังคม ประเทศชาติตลอดจนการทำประโยชน์เพื่อสังคม ลดความขัดแย้งและการให้ขวัญและกำลังใจต่อ กันเพื่อให้สังคมเป็นสุข เช่น การดูแลรักษาสมบัติสาธารณะ เช่น โทรศัพท์สาธารณะ เสาไฟฟ้า สวนสาธารณะ การดูแลรักษาสิ่งแวดล้อม โดยการไม่ทิ้งขยะลงในแม่น้ำลำคลอง ถนน ชายหาด การรวม กลุ่มกันเพื่อแก้ปัญหาของตนเองและชุมชน ซึ่งอาจแสดงออกด้วยการมีส่วนร่วมทางความคิด การลงมือ กระทำ การคัดค้านสิ่งที่ไม่ถูกต้องในสังคม ตลอดจนการร่วมมือกระทำในสิ่งที่ถูกต้องเพื่อไม่ให้เกิดปัญหาหรือเพื่อแก้ปัญหาโดยที่ไม่ขัดต่อกฎหมาย เพื่อรักษาประโยชน์ของส่วนรวม จิตสาธารณะเป็นสิ่งที่สามารถสังเกตได้จากความรู้สึกนึกคิด หรือการกระทำที่แสดงออกมา โดยพิจารณาจากความรู้ความเข้าใจหรือพฤติกรรมที่แสดงออกใน 3 องค์ประกอบ
          องค์ประกอบที่
1 คือการหลีกเลี่ยงการใช้หรือการกระทำที่จะทำให้เกิดความชำรุดเสียหายต่อ ส่วนรวมที่ใช้ประโยชน์ร่วมกันของกลุ่ม กำหนดตัวชี้วัดจาก
                   1. การดูแลรักษาของส่วนรวม ใช้ของส่วนรวมแล้วเก็บเข้าที่
                   2. ลักษณะการใช้ของส่วนรวม รู้จักใช้ของส่วนรวมอย่างประหยัดและทนุถนอม
          องค์ประกอบที่
2 คือ การถือเป็นหน้าที่ที่จะมีส่วนร่วมในการดูแลรักษาของส่วนรวมในวิสัยที่ ตนสามารถทำได้กำหนดตัวชี้วัดจาก
                   1. การทำตามหน้าที่ที่ได้รับมอบหมายเพื่อส่วนรวม
                   2. การรับอาสาที่จะทำบางอย่างเพื่อส่วนรวม
          องค์ประกอบที่
3 คือ การเคารพสิทธิในการใช้ของส่วนรวมที่เป็นประโยชน์ร่วมกันของกลุ่ม กำหนดตัวชี้วัดจาก
          1. การไม่ยึดครองของส่วนรวมนั้นมาเป็นของตนเอง
          2. การเปิดโอกาสให้ผู้อื่นได้สามารถใช้ของส่วนรวมนั้น

1 ความคิดเห็น: