การเลือกตั้ง
รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย
แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 1) พุทธศักราช 2554
กำหนดให้มี ส.ส. มีจำนวน 500 คน มาจาก การเลือกตั้ง
2 แบบ ได้แก่ ส.ส.แบบแบ่งเขต จำนวน 375 คน และ ส.ส.แบบบัญชีรายชื่อ จำนวน 125 คน
การเลือกตั้ง ส.ส.
มีความสำคัญต่อคนไทยทุกคนที่ต้องไปทำ หน้าที่เพื่อมอบอำนาจอธิปไตยของเราโดยการเลือกผู้แทนไปทำหน้าที่ ในการปกป้องผลประโยชน์และดูแลทุกข์สุขของประชาชน รวมทั้ง บริหารงบประมาณของประเทศชาติถึงปีละหนึ่งล้านล้านบาท ดังนั้น การเลือกผู้แทนที่เป็น “คนดี” มีความซื่อสัตย์ เห็นแก่ประโยชน์ ส่วนรวมของประชาชนให้เข้าไปทำงานทางการเมืองเราจะทำให้สามารถ ใช้งบประมาณทุกบาททุกสตางค์ที่มาจากเงินภาษีของประชาชนไปพัฒนาประเทศชาติได้อย่างเต็มที่
ที่มาของ ส.ส. ส.ส. มีจำนวน 500 คน มาจากการเลือกตั้ง 2 แบบ ได้แก่ 1. ส.ส. แบบแบ่งเขต มีจำนวน 375 คน คือ ส.ส. ที่มาจากเขตเลือกตั้งโดยการแบ่งเขตเลือกตั้งทั่วประเทศออกเป็น 375 เขต ในแต่ละเขตเลือกตั้งมีส.ส. ได้1 คน ผู้ที่ได้รับคะแนนสูงสุดเป็นผู้ได้รับเลือกเป็น ส.ส. 2. ส.ส. แบบบัญชีรายชื่อ มีจำนวน 125 คน คือ ส.ส.แบบบัญชีรายชื่อ คือ ส.ส. ที่มาจากการเลือกตั้งในแบบบัญชีรายชื่อ โดยพรรคการเมืองที่ส่งผู้สมัคร ส.ส.แบบบัญชีรายชื่อจะจัดทำบัญชีรายชื่อผู้สมัครไว้เพียงบัญชีเดียว เรียงลำดับจำนวนไม่เกิน 125 รายชื่อ รายชื่อใครจะอยู่ลำดับใดนั้น ขึ้นอยู่กับแต่ละพรรคจะดำเนินการ การเลือกตั้งแบบนี้ถือว่าประเทศเป็นเขตเลือกตั้ง หมายถึงทั้งประเทศ จะมีผู้สมัครแบบบัญชีรายชื่อ ชุดเดียวกัน
การเลือกตั้ง
ส.ว.
ประเทศไทยเป็นประเทศที่ปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็น พระประมุข หลักการสำคัญของการปกครองระบอบประชาธิปไตย คือ ประชาชนทุกคนเป็นเจ้าของ อำนาจในการปกครอง บริหารประเทศ แต่การจะให้ประชาชนทั้งประทศเข้าประชุมพร้อมกัน เพื่อกลั่น กรองกฎหมาย และควบคุมการทำงานของรัฐบาลย่อมทำไม่ได้จึงต้องเลือกสมาชิกวุฒิสภา (ส.ว.) เป็นผู้แทนของเราไปทำหน้าที่แทน หลักการสำคัญของการปกครองในระบอบประชาธิปไตย จึงเป็นการปกครองโดยประชาชน แต่ประชาชนได้มอบอำนาจให้ตัวแทนของตนหรือส.ว.ที่เลือกเข้าไปได้ใช้อำนาจในการกลั่นกรอง กฎหมาย และควบคุมทำงานของรัฐบาล
ประเทศไทยเป็นประเทศที่ปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็น พระประมุข หลักการสำคัญของการปกครองระบอบประชาธิปไตย คือ ประชาชนทุกคนเป็นเจ้าของ อำนาจในการปกครอง บริหารประเทศ แต่การจะให้ประชาชนทั้งประทศเข้าประชุมพร้อมกัน เพื่อกลั่น กรองกฎหมาย และควบคุมการทำงานของรัฐบาลย่อมทำไม่ได้จึงต้องเลือกสมาชิกวุฒิสภา (ส.ว.) เป็นผู้แทนของเราไปทำหน้าที่แทน หลักการสำคัญของการปกครองในระบอบประชาธิปไตย จึงเป็นการปกครองโดยประชาชน แต่ประชาชนได้มอบอำนาจให้ตัวแทนของตนหรือส.ว.ที่เลือกเข้าไปได้ใช้อำนาจในการกลั่นกรอง กฎหมาย และควบคุมทำงานของรัฐบาล
หน้าที่ของปวงชนชาวไทย
การไปเลือกตั้งเป็นความรับผิดชอบต่อบ้านเมือง ในการปกครองตามระบอบประชาธิปไตยถือว่า
การเลือกตั้งเป็นเรื่องสำคัญที่สุด เพื่อให้ได้ตัวแทนที่ตนต้องการ
นอกจากนี้กฎหมายยังกำหนดให้การไป ใช้สิทธิเลือกตั้งเป็นหน้าที่ของทุกคน
ถ้าไม่ไปโดยไม่แจ้งเหตุก็จะทำให้เสียสิทธิตามที่กฎหมายกำหนด ดังนี้
ความสำคัญของสมาชิกวุฒิสภา สมาชิกวุฒิสภาเป็นผู้แทนของประชาชนในวุฒิสภาเพื่อใช้อำนาจในการกลั่นกรองกฎหมาย การควบคุมการทำงานของรัฐและเป็นผู้คัดเลือกและถอดถอนคนไปดำรงตำแหน่งหรือออกตำแหน่ง ในองค์กรอิสระที่กำหนดไว้ในรัฐธรรมนูญ
ทั่วประเทศมี ส.ว. ได้200 คน แบ่งกันไปตามจังหวัดต่างๆตามจำนวนประชากร มีวาระ การดำรงตำแหน่งครั้งละ 6 ปีไม่มีการยุบสภา เหมือนส.ส. ถ้าได้เป็น ส.ว. แล้วจะเป็นสองสมัยติดต่อกัน ไม่ได้ต้องเว้นระยะเวลา 6 ปีจึงจะสมัครใหม่ได้ การที่ ส.ว. ต้องไปทำหน้าที่สำคัญทั้งกลั่นกรอง-คัดเลือก-ตรวจสอบ และถอดถอน เช่นนี้จึงมีข้อ
- ห้ามสำหรับ ส.ว. หลายประการ เช่น - ห้ามเป็นสมาชิกพรรคการเมือง เพราะต้องทำหน้าที่อย่างอิสระ และต้องตรวจสอบการ ทำงานของนักการเมือง รวมทั้งถอดถอน นักการเมืองที่ทุจริตและประพฤติมิชอบไว้ด้วย ดังนั้น จึงต้องไม่เกี่ยวข้องกับพรรคการเมือง และห้าม พรรคการเมืองสนับสนุน
- ห้ามผู้สมัครหรือผู้ใดหาเสียง (ผู้ใด หมายถึง ผู้ใกล้ชิด เพื่อน ญาติพี่น้อง หรือหัวคะแนน ของผู้สมัคร) ผู้สมัครควรเป็นที่รู้จักและ ได้รับความศรัทธาจากประชาชนว่ามีคุณธรรม ซื่อสัตย์สุจริต มีผลงานในอดีตที่เด่นชัด สามารถไปทำหน้าที่ถอดถอนคนไม่ดีออกจากตำแหน่ง ไปกลั่นกรองกฎหมาย จึงไม่ต้องโฆษณาหาเสียง เหตุผลที่ห้ามหาเสียงอีกประการหนึ่งก็คือ ไม่ต้องการให้ผู้สมัครไปขอรับการ สนับสนุน จากพรรคการเมืองหรือบุคคลใดอันอาจทำให้ส.ว. ต้องอยู่ภายใต้อิทธิพลของพรรคการเมือง หรือบุคคลนั้น และไม่สามารถทำหน้าที่ได้อย่างอิสระ
ดังนั้นพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรและ สมาชิกวุฒิสภา พ.ศ. 2541 มาตรา 91 จึงห้ามมิให้ผู้สมัครรับเลือกตั้งเป็นสมาชิกวุฒิสภาหรือบุคคลใด ดำเนินการหาเสียงเลือกตั้ง เว้นแต่การ แนะนำตัว ผู้สมัครเท่านั้น
ความสำคัญของสมาชิกวุฒิสภา สมาชิกวุฒิสภาเป็นผู้แทนของประชาชนในวุฒิสภาเพื่อใช้อำนาจในการกลั่นกรองกฎหมาย การควบคุมการทำงานของรัฐและเป็นผู้คัดเลือกและถอดถอนคนไปดำรงตำแหน่งหรือออกตำแหน่ง ในองค์กรอิสระที่กำหนดไว้ในรัฐธรรมนูญ
ทั่วประเทศมี ส.ว. ได้200 คน แบ่งกันไปตามจังหวัดต่างๆตามจำนวนประชากร มีวาระ การดำรงตำแหน่งครั้งละ 6 ปีไม่มีการยุบสภา เหมือนส.ส. ถ้าได้เป็น ส.ว. แล้วจะเป็นสองสมัยติดต่อกัน ไม่ได้ต้องเว้นระยะเวลา 6 ปีจึงจะสมัครใหม่ได้ การที่ ส.ว. ต้องไปทำหน้าที่สำคัญทั้งกลั่นกรอง-คัดเลือก-ตรวจสอบ และถอดถอน เช่นนี้จึงมีข้อ
- ห้ามสำหรับ ส.ว. หลายประการ เช่น - ห้ามเป็นสมาชิกพรรคการเมือง เพราะต้องทำหน้าที่อย่างอิสระ และต้องตรวจสอบการ ทำงานของนักการเมือง รวมทั้งถอดถอน นักการเมืองที่ทุจริตและประพฤติมิชอบไว้ด้วย ดังนั้น จึงต้องไม่เกี่ยวข้องกับพรรคการเมือง และห้าม พรรคการเมืองสนับสนุน
- ห้ามผู้สมัครหรือผู้ใดหาเสียง (ผู้ใด หมายถึง ผู้ใกล้ชิด เพื่อน ญาติพี่น้อง หรือหัวคะแนน ของผู้สมัคร) ผู้สมัครควรเป็นที่รู้จักและ ได้รับความศรัทธาจากประชาชนว่ามีคุณธรรม ซื่อสัตย์สุจริต มีผลงานในอดีตที่เด่นชัด สามารถไปทำหน้าที่ถอดถอนคนไม่ดีออกจากตำแหน่ง ไปกลั่นกรองกฎหมาย จึงไม่ต้องโฆษณาหาเสียง เหตุผลที่ห้ามหาเสียงอีกประการหนึ่งก็คือ ไม่ต้องการให้ผู้สมัครไปขอรับการ สนับสนุน จากพรรคการเมืองหรือบุคคลใดอันอาจทำให้ส.ว. ต้องอยู่ภายใต้อิทธิพลของพรรคการเมือง หรือบุคคลนั้น และไม่สามารถทำหน้าที่ได้อย่างอิสระ
ดังนั้นพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรและ สมาชิกวุฒิสภา พ.ศ. 2541 มาตรา 91 จึงห้ามมิให้ผู้สมัครรับเลือกตั้งเป็นสมาชิกวุฒิสภาหรือบุคคลใด ดำเนินการหาเสียงเลือกตั้ง เว้นแต่การ แนะนำตัว ผู้สมัครเท่านั้น
การเลือกตั้งแบบท้องถิ่น
ผู้แทนในระดับท้องถิ่นมีใครบ้าง
ผู้แทนองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในแต่ละแห่งที่มาจากการเลือกตั้งโดยตรงของระชาชน แบ่งเป็น 2 ฝ่าย คือ
ผู้แทนองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในแต่ละแห่งที่มาจากการเลือกตั้งโดยตรงของระชาชน แบ่งเป็น 2 ฝ่าย คือ
ฝ่ายนิติบัญญัติ
ฝ่ายบริหาร
มีหน้าที่ออกกฎหมายท้องถิ่นและตรวจสอบหน้าที่ มีหน้าในการควบคุมและบริหารกิจการ การบริหารงานของท้องถิ่นได้แก่ ของท้องถิ่น
ส.อบต. นายก อบต.
ส.ท. นายก เทศมนตรี
ส.จ. นายก อบจ.
สมาชิกสภาเมืองพัทยา, ส.ก. นายกเมืองพัทยา, ผู้ว่าฯ กทม.
มีหน้าที่ออกกฎหมายท้องถิ่นและตรวจสอบหน้าที่ มีหน้าในการควบคุมและบริหารกิจการ การบริหารงานของท้องถิ่นได้แก่ ของท้องถิ่น
ส.อบต. นายก อบต.
ส.ท. นายก เทศมนตรี
ส.จ. นายก อบจ.
สมาชิกสภาเมืองพัทยา, ส.ก. นายกเมืองพัทยา, ผู้ว่าฯ กทม.
ทำไมต้องไปเลือกตั้งผู้แทนท้องถิ่น
การเลือกตั้ง เป็นหน้าที่ของคนไทยทุกคนในระบอบประชาธิปไตยเพื่อให้มีตัวแทนไปทำหน้าที่ สำคัญแทนพวกเรา เช่น ปกป้องผลประโยชน์และดูทุกข์สุกของประชาชนในท้องถิ่น ให้ประชาชนอยู่ดี กินดีเรียกร้องให้แก้ไขปัญหาความเดือดร้อนที่เกิดขึ้นในชุมชน ซึ่งหากไม่มีผู้แทนก็จะไม่มีผู้นำเสนอ ปัญหาเหล่านั้นก็จะไม่ได้รับการแก้ไข
การปกครองส่วนท้องถิ่นสำคัญอย่างไร
องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น จัดตั้งขึ้นเพื่อให้การบริการแก่ประชาชนในด้านต่างๆ เช่นด้านการ ศึกษา วัฒนธรรม ประเพณีด้านสาธารณูปโภค ด้านปกป้องและบรรเทาสาธารณภัย โรคติดต่อ ส่งเสริมพัฒนา สตรีเด็ก เยาวชน ผู้สูงอายุ
การเลือกตั้ง เป็นหน้าที่ของคนไทยทุกคนในระบอบประชาธิปไตยเพื่อให้มีตัวแทนไปทำหน้าที่ สำคัญแทนพวกเรา เช่น ปกป้องผลประโยชน์และดูทุกข์สุกของประชาชนในท้องถิ่น ให้ประชาชนอยู่ดี กินดีเรียกร้องให้แก้ไขปัญหาความเดือดร้อนที่เกิดขึ้นในชุมชน ซึ่งหากไม่มีผู้แทนก็จะไม่มีผู้นำเสนอ ปัญหาเหล่านั้นก็จะไม่ได้รับการแก้ไข
การปกครองส่วนท้องถิ่นสำคัญอย่างไร
องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น จัดตั้งขึ้นเพื่อให้การบริการแก่ประชาชนในด้านต่างๆ เช่นด้านการ ศึกษา วัฒนธรรม ประเพณีด้านสาธารณูปโภค ด้านปกป้องและบรรเทาสาธารณภัย โรคติดต่อ ส่งเสริมพัฒนา สตรีเด็ก เยาวชน ผู้สูงอายุ
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น